กลยุทธ์การตั้งราคาโปรโมชั่นสินค้าให้ลูกค้าหวั่นไหว
การตั้งราคาโปรโมชั่นสินค้าเป็นความท้าทายความสามารถของผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ดังนั้นบทความนี้ โปรทั่วไทย จะมาบอกกลยุทธ์การตั้งราคาโปรโมชั่นสินค้าให้ลูกค้าหวั่นไหว ไปดูกันเลย
กลยุทธ์การตั้งราคาโปรโมชั่นสินค้าให้ได้ใจลูกค้า
1. การตั้งราคาโปรโมชั่นแบบชุด
เป็นการนำเอาสินค้าแบบเดียวกันหรือต่างชนิดกันมากกว่า 1 ชิ้น มารวมขายเป็นชุด โดยตั้งราคารวมของชุดให้ต่ำกว่าราคาปกติของแต่ละชิ้นที่นำมารวมกัน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก
2. การตั้งราคาโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการตลาด
เป็นกลยุทธ์ที่ผู้ค้าปลีกนิยมนำมาใช้ในการตั้งราคาสินค้า เพื่อจูงใจผู้บริโภคมากขึ้น มีวิธีดังนี้ การตั้งราคาแบบล่อใจ เป็นการตั้งราคาสินค้าบางอย่างที่ผู้บริโภคต้องการ ให้มีราคาต่ำมากหรืออาจจะต่ำกว่าต้นทุน เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อในร้านของเรา และการตั้งราคาในเทศกาลพิเศษ เป็นการลดราคาสินค้าพิเศษในช่วงเทศกาลต่าง ๆ
3. การตั้งราคาโปรโมชั่นแยกตามกลุ่มลูกค้า
เป็นการกำหนดราคาต่างกันตามกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันโดยพิจารณาจากกำลังซื้อของลูกค้า หรือให้ราคาพิเศษสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มนี้มาใช้บริการมากขึ้น
4. การตั้งราคาโปรโมชั่นแบบหลอกล่อ
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อลูกค้ามีความลังเลในการตัดสินใจระหว่าง 2 ตัวเลือก สิ่งที่แบรนด์ทำคือการสร้างตัวเลือกที่ 3 ขึ้นมา ซึ่งตัวเลือกที่ 3 นี้จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้าและทำหน้าที่ลวงให้พวกเขาหันไปตัดสินใจซื้อตัวเลือกที่แบรนด์อยากจะขายมากกว่า เช่น 1. ชิ้นที่ 1 ราคา 499 บาท
2. ชิ้นที่ 2 ราคา 799 บาท
3. ชิ้นที่ 3 ราคา 999 บาท
5. การตั้งราคาโปรโมชั่นหลักจิตวิทยา
เป็นการตั้งราคาโดยอาศัยความรู้สึกของผู้ซื้อที่มีต่อราคา ซึ่งวิธีการตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา เช่น การตั้งราคาแบบเลขคู่ เป็นการกำหนดให้ราคาลงท้ายด้วยเลขคู่หรือจำนวนเต็ม ซึ่งให้ความรู้สินค้ามีคุณภาพดี มีชื่อเสียง เช่น 100 บาท 1,500 บาท 2,000 บาท เป็นต้น กลยุทธ์นี้เหมาะกับสินค้าที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์หรือราคาแพง เกรดพรีเมียม
6. การตั้งราคาโปรโมชั่นตามแนวภูมิศาสตร์
เป็นการกำหนดราคาโดยการพิจารณาถึงต้นทุนด้านการขนส่งไปยังตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ การกำหนดราคาจัดจำหน่ายจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย
7. การตั้งราคาโปรโมชั่นสูงและการตั้งราคาโปรโมชั่นต่ำ
การตั้งราคาโปรโมชั่นสูง เป็นการตั้งราคาสินค้าสูงในช่วงแรกของการนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด เพื่อต้องการให้ได้ต้นทุนและกำไรกลับมาโดยเร็ว
การตั้งราคาโปรโมชั่นต่ำ เป็นการตั้งราคาให้ต่ำในช่วงแรกของการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคยอมรับมาทดลองซื้อไปใช้